กลุ่มชวนน้องออมถวายพ่อหลวงฯ จัดโครงการสร้างงานสร้างอาชีพ ช่วยลดปัญหาแรงงานพลัดถิ่น เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยภูมิปัญญาของชุมชน

เลย การแปรรูปผลิตภัณฑ์

งานจักสาน งานทอผ้าฝ้าย เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของประเทศไทย เช่นเดียวกับ ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย ส่วนมากจะประกอบอาชีพงานฝีมือจำพวก งานจักสาน งานทอผ้าฝ้าย งานทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน และเกษตรกรรม เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอันภาคภูมิใจ 

แต่ในปัจจุบันเมื่อโลกมีการพัฒนาเกิดขึ้นจึงทำให้ วิถีชีวิตชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง วัยแรงงานนิยมออกไปทำงานต่างถิ่นเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ทำให้วิถีชีวิตดังเดิมกำลังเลื่อนหายไปตามกาลเวลา ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 จึงทำให้ชาวบ้านไม่สามารถออกไปขายแรงงานที่ต่างถิ่นทำให้รายได้เกิดการขาดมือ 

ทาง กลุ่มชวนน้องออมถวายพ่อหลวง ในฐานะที่มีมีพื้นฐานในสร้างผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทอาหารนั่นคือ ผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป Banana Stick จากผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป พัฒนาไปสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับเยาวชน ซึ่งนำเอาภูมิปัญญารวมเข้ากับการท่องเที่ยววิถีชุมชนโดยเชื่อมโยงสถานที่ต่างๆ ในชุมชนได้แก่ ศาลพ่อพญาช้างนางผมหอม บ้านโบราณเรือน กลุ่มทอผ้าของผู้สูงอายุ ปราสาทฟาง และสวนพืชไทย ให้กลายเป็นโครงการ Banana Land ดินแดนกล้วย ๆ โดยเรียนรู้ที่จะสนุกไปกับภูมิปัญญา ทั้งอนุรักษ์และสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ด้วยเหตุนี้ กลุ่มชวนน้องออมถวายพ่อหลวงจึงเล็งเห็นประโยชน์จากโอกาสเชิงพื้นที่ในดังกล่าวจึงได้จัดทำ ‘โครงการสร้างงานและอาชีพในชุมชน สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด’ โดยออกแบบหลักสูตรสำหรับพัฒนาอาชีพให้กับชาวบ้านในตำบลภูหอ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาของชุมชนโดยเฉพาะทักษะกระบวนการการทอผ้าฝ้ายและการจักสาน ผ่านหลักสูตรวิชาชีพจากภูมิปัญญา 3 หลักสูตร ได้แก่ 

  1. การเพิ่มมูลค่าจากผ้าฝ้าย
  2. การเพาะไม้ดอกไม้ประดับและต้นสมุนไพรท้องถิ่น
  3. การสร้างมูลค่าจากกล้วย “zero waste” และ ไม้ไผ่

นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้มีการเสริมทัพด้วยทักษะการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการสร้างตลาดออนไลน์ โดยมุ่งหวังให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืนในชุมชน เพื่อชุมชนจะได้แข็งแรงและสามารถอนุรักษ์ภูมิปัญญาเดิมได้ ผ่านการสร้างช่องทางการขาย อีก 3 หลักสูตร ไม่ว่าจะเป็น 

  1. การสร้างมาตรฐานและยกระดับคุณภาพสินค้า
  2. การขายสินค้านักการตลาดรุ่นใหม่ผ่านระบบ Online 
  3. สร้างตลาดนัดสินค้าชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ตลาดCraft หรือ ร้านค้าสินค้าชุมชน

ยิ่งไปกว่านั้น โครงการยังได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายองค์กรที่ทั้งสนับสนุนองค์ความรู้ในด้านการประกอบอาชีพและการพัฒนาสินค้า ได้แก่ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ที่ปรึกษาให้คำแนะนำในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่มีความเชี่ยวชาญการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการสินค้า OTOP จังหวัดเลย 20 กลุ่ม ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาสินค้า

เมื่อโครงการสิ้นสุดลงแล้วผู้จัดทำคาดว่าในตำบลภูหอจะมีผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 10 ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสร้างมูลค่าให้กับชุมชน เกิดกลุ่มผู้ประกอบการใหม่อย่างน้อย 5 กลุ่ม มีตลาดนัดผลิตภัณฑ์ชุมชน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และชุมชนจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 25 % โดยทางกลุ่มมีการวางแผนถึงการติดตามการดำเนินงานของผู้ร่วมโครงการตลอดระยะเวลา อย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง และพัฒนากระบวนการผลิตให้ผู้ร่วมโครงการมีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จำหน่ายตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น และมีโครงการจัดตั้งศูนย์ให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพแก่ผู้ที่สนใจในอนาคต ลดแรงงานพลัดถิ่น สู่การสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

กลุ่มชวนน้องออมถวายพ่อหลวงจึงเล็งเห็นประโยชน์จากโอกาสเชิงพื้นที่ในดังกล่าวจึงได้จัดทำ ‘โครงการสร้างงานและอาชีพในชุมชน สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด’ โดยออกแบบหลักสูตรสำหรับพัฒนาอาชีพให้กับชาวบ้านในตำบลภูหอ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาของชุมชนโดยเฉพาะทักษะกระบวนการการทอผ้าฝ้ายและการจักสาน

เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น

สร้างงานและอาชีพในชุมชน ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย

ชื่อหน่วยงาน

กลุ่มชวนน้องออมถวายพ่อหลวง องค์กรสาธารณะประโยชน์

จังหวัด

เลย

ปีโครงการ

2563

ติดต่อ

ผู้ประสานงาน: นางสาวลักขณา แสนบุ่งค้อ
โทร: 0889939905

เป้าประสงค์โครงการ

เป้าหมายการดำเนินงานโครงการ  คือ  คนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการพัฒนาชุมชน ออมเงิน ออมบ้าน ออมเด็ก ออมเวลา และเห็นคุณค่าสิ่งที่มีในชุมชน  เกิดกลุ่มอาชีพและเพิ่มทักษะในการพัฒนาต่อยอดสินค้า   สินค้าในชุมชนมีคุณภาพ มาตรฐานและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น   ซึ่งทำให้คนที่ไปขายแรงงานต่างถิ่นได้มีอาชีพในชุมชน  ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น  รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการขายสินค้าทั้ง Online และ Offline  มีตลาดในการจำหน่ายสินค้าชุมชนในพื้นที่ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีร้านค้าของฝากในชุมชน 1 ร้าน  และเกิดการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชนด้วยชุมชนเอง

เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส