ปราญชน์ชุมชนเขาวงส่งต่อองค์ความรู้เห็ดนางฟ้าและเห็ดระโงก ช่วยสร้างทักษะแรงงานที่ขาดโอกาส
ในปัจจุบันเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นในวงการอาหารโลกคือ โปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ หรือที่เรียกว่า Plant based Food ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวอีกในอนาคต เนื่องจากการอุตสาหกรรมปศุสัตว์เป็นตัวการสำคัญที่สร้างผลกะทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ทางเลือกอื่นนอกจากเนื้อสัตว์จริงๆ กลายมาเป็นที่นิยมขึ้นมา
โดยส่วนมากอาหารโปรตีนสูงทดแทนเนื้อสัตว์นั้นจะประกอบไปด้วยเห็ด เพราะมีต้นทุนในการผลิตต่ำและมีรสชาติมากกว่าพืชชนิดอื่น นั่นจึงทำให้เห็ดเป็นที่น่าจับตามองในวงการเกษตรทั่วโลก เช่นเดียวกับที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีชุมชนที่กำลังสร้างโครงการเรียนรู้การเพาะพันธุ์เห็ดนางฟ้าและเห็ดระโงกกันอยู่อย่างเข้มข้น
ด้วยต้นทุนทางธรรมชาติของพื้นที่เขาวงที่มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยพืชพรรณต่างๆ หลากหลายชนิด พร้อมกับการที่กลุ่มเป้าหมายมีพื้นที่ทำกินเพียงพอที่จะสร้างโรงเรือนเห็ดได้ ทำให้แนวทางการเพาะเห็ดมีแนวโน้มเติบโตขึ้นในชุมชน
นอกจากนี้ในพื้นที่อำเภอเขาวงศ์ยังมีปราชญ์หลายท่านที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องเห็ด ไม่ว่าจะเป็น “นางวัลญารัตน์ นวลบัตร” ผู้คิดริเริ่มในการนำเมล็ดพันธุ์ไม้นานาชนิดในชุมชนมาเพาะผสมกับเชื้อเห็ดระโงกจนสำเร็จ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด “นายเชิด กลมภพ” เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเพาะเห็ดนางฟ้ามีประสบการณ์มานานกว่า 20 ปี และ “นางสมภาส กลมภพ” ผู้มีความเชี่ยวชาญในการแปรรูปเห็ดนางฟ้า นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่ายเอกชนที่พร้อมจะสนับสนุนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโครงการ ที่ตลาดสดอำเภอเขาวงอีกด้วย
นอกจากเรื่องดีๆ ของเห็ดแล้ว อีกด้านตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ก็มีเรื่องที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน โดยในปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้กำลังประสบปัญหาการขาดโอกาสทางการศึกษาของผู้ด้อยโอกาสช่วงอายุ 15- 60 ปี ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบที่มีจำนวนมากกว่า 750 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรทำนา หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวจะว่างงานหรือรอการจ้างในลักษณะแรงงานรายได้ต่ำซึ่งไม่พอเลี้ยงต่อการดำรงชีพ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขมีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหาสะสมมากขึ้นทุกปี
จากการศึกษาของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงปราชญ์สุขภาพเขาวง หน่วยพัฒนาอาชีพในพื้นที่พบว่า ในการจะแก้ปัญหาของชุมชนนี้ จำเป็นต้องสร้างทักษะอาชีพใหม่ให้กับคนกลุ่มนี้ ซึ่งต้นทุนของชุมชนอย่างความรู้ด้านเห็ดนับว่าเป็นองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายอย่างมาก เนื่องจากใช้ต้นทุนไม่สูงและง่ายต่อการเรียนรู้
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงปราชญ์สุขภาพเขาวง จึงได้ก่อตั้ง “โครงการพัฒนาอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดธรรมชาติ (เห็ดระโงก) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะวิชาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดระโงก เพราะในปัจจุบันเห็ดทั้งสองชนิดนี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย รวมถึงใช้เป็นส่วนวัตถุดิบในการผลิตโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ได้ด้วย ทำให้หน่วยงานพัฒนาเป็นช่องวางนี้และเลือกที่จะเอาองค์ความรู้ที่ชุมชนมีอยู่แล้วมาเผยแพร่ต่อยอดให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยหลักสูตรการอบรมจะมีเนื้อหาที่เน้นทักษะการประกอบวิชาชีพตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจำหน่ายดังนี้
- เพิ่มทักษะในการฝึกปฏิบัติเพาะการดูแลรักษาเห็ดนางฟ้าและการเพาะกล้าไม้ผสมกับเชื้อเห็ดระโงกจนเกิดความชำนาญ และส่งเสริมทักษะการแปรรูปเห็ดเพื่อเพิ่มมูลค่า
- เพิ่มทักษะการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ การจัดทำโลโก้ แบรนด์ รวมถึงเทคนิคในการเพิ่มช่องทางการตลาดทั้งในชุมชนและตลาดออนไลน์
- เพิ่มทักษะในการบริหารจัดการการคิดวิเคราะห์ ต้นทุน ความคุ้มค่า ผลกำไร จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย
เมื่อโครงการจบลง กลุ่มเป้าหมายจะเกิดความรู้ ในการเพาะพันธุ์กล้าไม้ผสมเชื้อเห็ดระโงกและการเพาะพันธุ์เห็ดนางฟ้า จนสามารถมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมอย่างน้อยร้อยละ 80 และมีรายได้จากการขายผลผลิตกล้าไม้ เห็ดนางฟ้าเพิ่มขึ้นเดือนละ 2,000 บาท และสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนในด้านอาหารได้เดือนละ3,000 บาท นำไปสู่การตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในอนาคตศูนย์เรียนรู้ปราชญ์สุขภาพเขาวงมีการวางแผนที่เชื่อมประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การขยายผลไปยังแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ได้รับการพัฒนายกระดับฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพไปยังพื้นที่ใกล้เคียง
ต้นทุนของชุมชนอย่างความรู้ด้านเห็ดนับว่าเป็นองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายอย่างมาก เนื่องจากใช้ต้นทุนไม่สูงและง่ายต่อการเรียนรู้
เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น
พัฒนาอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดธรรมชาติ (เห็ดระโงก) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ชื่อหน่วยงาน
จังหวัด
ปีโครงการ
ติดต่อ
เป้าประสงค์โครงการ
- กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ทักษะการเพาะเห็นที่อยู่บนฐานแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- กลุ่มเป้าหมายประกอบอาชีพ และเกิดรายได้จากการจำหน่ายพันธุ์กล้าไม้ผสมเชื้อเห็ดระโงกและรายได้จากการจำหน่ายเห็ดนางฟ้า สามารถพัฒนาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของครัวเรือนอย่างมั่นคงสามารถเลี้ยงครอบครัวได้