มูลนิธิชีวิตไท พาชาวสระบุรีบรรลุเป้าหมาย ‘อยู่ดี กินดี’ ผ่านการปลูกผักอินทรีย์

สระบุรี เกษตรกรรม

ในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจกับสุขภาพและการรับประทานอาหารมากกว่าเดิม ทำให้ผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้คนสามารถเข้าถึงการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้อย่างแพร่หลาย มีการเกิดขึ้นของร้านอาหารเพื่อสุขภาพอย่างไม่ขาดสาย ส่วนหนึ่งเพราะผลิตผลที่ได้จากสวนเกษตรอินทรีย์นั้นทำให้สุขภาพดีตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง ทั้งยังมีเรื่องของความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมเพิ่มเข้ามา ซึ่งนั่นก็เป็นทั้งข้อดีและจุดขายที่เรียกร้องให้กับคนยุคใหม่หันไปสนใจมากขึ้น

แต่การที่เกษตรกรจะหันมาทำการเกษตรอินทรีย์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเกษตรกรในหลายพื้นที่ยังติดการทำการเกษตรในรูปแบบเดิมคุ้นเคยกับการใช้สารเคมีเร่งผลผลิตและผูกขาดกับพ่อค้าคนกลางแหล่งรับซื้อที่ทำให้เกษตรกรไม่ต้องทำการขายเอง 

แน่นอนว่าวิถีชีวิตเช่นนี้ล้วนไม่ยั่งยืนเกษตรกรบางกลุ่มที่ยังมีแนวคิดในการทำเกษตรแบบยั่งยืนจึงรวมกลุ่มกันสร้างวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาพื้นที่ทำกินของตนให้เป็นของตนจริงๆ อย่างในพื้นที่ 3 ชุมชน ได้แก่ บ้านหนองจาน บ้านหนองโอ่ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และบ้านหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ได้ร่วมกลุ่มกันก่อตั้ง ‘ปันสุขออร์แกนิค’ วิสหากิจประจำชุมชนที่มีจุดประสงค์ให้สมาชิกในกลุ่มปรับเปลี่ยนมาสู่การผลิตในระบบอินทรีย์ เพื่อลดปัญหาหนี้สิน เพิ่มรายได้จากผลผลิต คืนความปลอดภัยให้กลับสู่ธรรมชาติ ผู้บริโภคและผู้ผลิตอย่างพวกเขาเอง 

จากการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน โดยมีผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ไข่ไก่อินทรีย์ ไข่เค็มสมุนไพร เพื่อส่งขายให้กับโรงพยาบาลและตลาดในท้องถิ่นทำให้ค้นพบว่าเกษตรกรในกลุ่มมีรายได้ประจำที่มั่นคงขึ้น ไม่ถูกกดราคาและไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมี แต่เมื่อไม่นานได้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ขึ้น ทำให้เกษตรกรหลายส่วนในชุมชนได้รับผลกระทบจากการที่พ่อค้าคนกลางไม่รับซื้อผลผลิต ตัวของเกษตรกรเองก็ไม่สามารถส่งผลผลิตไปขายยังที่ต่างๆ ได้ ไม่มีการเข้ามาของนักท่องเที่ยว รวมถึงลูกหลานที่เคยทำงานนอกพื้นที่ต่างกลับเข้ามายังถิ่นกำเนิดแต่ก็ไม่มีงานรองรับเช่นกัน

มูลนิธิชีวิตไท มูลนิธิที่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สิ้นและขาดแคลนที่ดินของเกษตรกรมากว่า 10 ปี เน้นหลักการที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของคน สร้างความเข้าใจและหาทางออกให้กับเกษตรกรเสมอมา มีความคุ้นเคยกับวิสาหากิจชุมชนปันสุขออร์แกนิคและคนในพื้นที่ เล็งเห็นถึงปัญหาที่กำลังจะตามมาในอนาคตจึงได้ร่วมมือกันจัดตั้ง ‘โครงการเกษตรอินทรีย์ปันสุข เพื่อชุมชนวิถีใหม่ อำเภอพระพุทธบาท และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี’ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างอาชีพเกษตรอินทรีย์ โดยนำความรู้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาจัดทำเป็นหลักสูตร ถ่ายทอดให้เกษตรกรที่สนใจปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ผู้ว่างงานและผู้ด้อยโอกาส ยกระดับจากเกษตรกรธรรมดา

เรียกได้ว่าโครงการฯ ดังกล่าวได้เข้ามาสร้างบรรทัดฐานเกษตรกรวิถีใหม่ให้กับชุมชน โดยหลักสูตรนั้นเข้ามาพัฒนากลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมผลิต วิธีการผลิต การดูแล การแปรรูป การพัฒนาผลผลิตไปจนถึงการสร้างกลไกการตลาดที่เหมาะสมและเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย เพื่อสร้างพลังของสังคมเกษตรอินทรีย์ขึ้นในพื้นที่

โดยมุ่งหวังว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จะมีวิธีคิดในการทำการเกษตรที่เปลี่ยนไป หันมาเข้าสู่ระบบการเกษตรแบบอินทรีย์ที่ดีต่อทุกฝ่าย รักษาพื้นที่ทำกินของตนเองไว้ได้อย่างยั่งยืน รวมไปถึงการที่เกษตรกรเองได้ทานผลผลิตที่ปลอดภัยจากสวนของตัวเองก็นับเป็นเรื่องที่ดีที่สุดเพื่อสร้างให้ตัวเราและชุมชนเข้มแข็งไปด้วยกัน

 

โครงการฯ ดังกล่าวได้เข้ามาสร้างบรรทัดฐานเกษตรกรวิถีใหม่ให้กับชุมชน โดยหลักสูตรนั้นเข้ามาพัฒนากลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมผลิต วิธีการผลิต การดูแล การแปรรูป การพัฒนาผลผลิตไปจนถึงการสร้างกลไกการตลาดที่เหมาะสมและเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย เพื่อสร้างพลังของสังคมเกษตรอินทรีย์ขึ้นในพื้นที่

เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น

การเกษตรอินทรีย์ปันสุข เพื่อชุมชนวิถีใหม่ อำเภอพระพุทธบาท และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

ชื่อหน่วยงาน

มูลนิธิชีวิตไท

จังหวัด

สระบุรี

ปีโครงการ

2563

ติดต่อ

ผู้ประสานงาน: นางสุภา ใยเมือง
โทร: 08-1301-6141

เป้าประสงค์โครงการ

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ 50 คน ได้รับการพัฒนาทักษะ ความรู้ และศักยภาพ สามารถวิเคราะห์ปัจจัยในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่อาชีพการทำเกษตรอินทรีย์ที่สร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นเกษตรกรวิถีใหม่ที่พร้อมจะพัฒนาไปเป็นผู้ประกอบการ มีแหล่งอาหารที่มั่นคงที่นำไปสู่การสร้างพลังสังคมเกษตรอินทรีย์

เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส