มูลนิธิภคินีศรีชุมพาบาลหนองคาย ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ ผ่านการพัฒนาอาชีพเกษตรวิถีใหม่
ในอดีตสังคมไทยมีค่านิยมว่าผู้หญิงจะต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ส่งผลให้ผู้หญิงไม่สามารถก้าวมาเป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ ได้ แต่ปัจจุบันค่านิยมเหล่านั้นได้เปลี่ยนไปเพราะการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ทำให้ผู้หญิงและผู้ชายมีคุณค่าเท่าเทียมกัน
แต่ในบางครั้งผู้หญิงก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้ศักยภาพที่ตัวเองมีอยู่มาใช้ประโยชน์ เช่น การที่ผู้หญิงหลายพื้นที่ยังถูกจำกัดว่าไม่อยู่ในกลุ่มแรงงาน กลายเป็นแม่บ้านซึ่งจัดว่าไม่ได้เป็นผู้ทำงานในเชิงเศรษฐกิจ หรืองานประเภทที่ต้องใช้แรงงานผู้หญิงก็มักจะถูกเลิกจ้างก่อนเสมอ เป็นต้น จากการว่างงานนี้ทำให้เกิดความเครียดสะสม จึงเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายครอบครัวส่งผลถึงการมีปัญหาในชุมชนและสังคมต่อไป
มูลนิธิภคินีศรีชุมพาบาลหนองคาย มองว่าในพื้นที่ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลวัดธาตุและตำบลบ้านฝาง จังหวัดหนองคาย พื้นที่ใกล้ชิดกับมูลนิธิฯ เองก็พบปัญหาเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งปัญหาการว่างงานของแม่บ้านก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายครอบครัวไม่มีเงินมากพอในการดำรงชีวิต ทั้งยังมีปัญหาหนี้สิน แต่ก็ยังไม่มีทางออก
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่กลุ่มแม่บ้านมีอาชีพหลักคือการทำนาเพราะฉะนั้นความต้องการของพวกเธอคือ การที่ผลผลิตนั้นสามารถเข้าถึงตลาดและขายได้จริง แม้ที่ผ่านมากลุ่มแม่บ้านจะเคยได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้ทางการเกษตรมาก่อนบ้างแล้ว แต่เนื่องจากพวกเธอยังไม่สามารถเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการขายสินค้าได้ ส่งผลให้รายได้ที่เกิดขึ้นนั้น จากการจัดกิจกรรมครั้งที่แล้วจึงเป็นเพียงรายได้ที่ช่วยพยุงค่าใช้จ่ายประจำวันเพียงเท่านั้น
เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเองอย่างยั่งยืน มูลนิธิ ฯ จึงจัดตั้ง ‘โครงการเกษตรวิถีใหม่พัฒนาอาชีพกลุ่มสตรีแบบขั้นบันไดจากพื้นที่เรียนรู้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน’ ขึ้นเพื่อมอบโอกาสการเข้าถึงอาชีพและรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน
โดยโครงการฯในครั้งนี้จึงมีการออกแบบหลักสูตรขั้นบันได 4 ขั้น เพื่อเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป กล่าวคือ ขั้นที่ 1 การเรียนรู้หลักการและทำความเข้าใจในเรื่องการทำเกษตรและการประกอบอาชีพแบบวิถีใหม่ เป็นการช่วยให้กลุ่มแม่บ้านสามารถปรับตัวและรับมือเพื่อนำไปใช้กับการประกอบอาชีพช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (covid-19) ได้มากยิ่งขึ้น
ขั้นบันไดที่ 2 การฝึกปฏิบัติเรื่องการทำเกษตรและการประกอบอาชีพแบบวิถีใหม่ เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านเห็นภาพการทำงานจริงที่จะเกิดขึ้น
ขั้นบันไดที่ 3 การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์และการประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นการพัฒนาวิธีการคิดในการผลิตสินค้าให้กลุ่มแม่บ้านทั้งยังสอนให้มองช่องทางการขายผ่านตลาดออนไลน์และเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น
ขั้นบันไดที่ 4 การถอดบทเรียนและการพัฒนาต่อยอดไปเป็นการประกอบอาชีพเกษตรแบบวิถีใหม่ เป็นการช่วยให้กลุ่มแม่บ้านเข้าใจในอาชีพของตนเองมากที่สุดและสามารถปรับใช้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นได้
จากหลักสูตรการทั้งหมดนี้ โครงการฯ มุ่งหวังว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจะมีทักษะทางอาชีพตามแนววิถีใหม่มากขึ้น ทั้งยังเข้าถึงการตลาดแหล่งการสร้างรายได้สำคัญเพื่อนำมาพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัว เกิดความคิดริเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเอง ลดปัญหาการว่างงานและความเหลื่อมล้ำทางเพศภาพภายในใจของกลุ่มแม่บ้านเหล่านี้ได้
เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเองอย่างยั่งยืน มูลนิธิ ฯ จึงจัดตั้ง ‘โครงการเกษตรวิถีใหม่พัฒนาอาชีพกลุ่มสตรีแบบขั้นบันไดจากพื้นที่เรียนรู้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน’ ขึ้นเพื่อมอบโอกาสการเข้าถึงอาชีพและรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน
เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น
โครงการเกษตรวิถีใหม่พัฒนาอาชีพกลุ่มสตรีแบบขั้นบันไดจากพื้นที่เรียนรู้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
ชื่อหน่วยงาน
จังหวัด
ปีโครงการ
ติดต่อ
เป้าประสงค์โครงการ
- กลุ่มเป้าหมายเกิดทักษะและอาชีพเกษตรวิถีใหม่ในการตอบโจทย์ยุคสมัยภายใต้สังคมเทคโนโลยีแบบยั่งยืน
- กลุ่มเป้าหมายมีช่องทางทางด้านการตลาดเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์
- เกิดพื้นที่การเรียนรู้การปฏิบัติในการสร้างทักษะชีวิตจากอาชีพเกษตรที่ปลอดภัยและทันสมัยแบบครบวงจรให้แก่กลุ่มผู้ขาดโอกาสทางสังคม
- กลุ่มเป้าหมายที่ขาดโอกาสมีรายได้เพิ่มขึ้น