ม.มหิดล นครสวรรค์ ดึงผู้ด้อยโอกาสมาฝึกทักษะผลิตชะลอมไม้ไผ่ สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ พัฒนาผลิตภัณฑ์สะท้อนวิถีชุมชน ตอบโจทย์ความต้องการในท้องถิ่น
ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบกิน ‘กล้วยกวน’ แล้วล่ะก็ คุณควรจะได้มารู้จักกับตำบลบางประมุง จังหวัดนครสวรรค์ เพราะสถานที่แห่งนี้คือหนึ่งในสถานที่ส่งออกกล้วยกวนชื่อดังของจังหวัด ซึ่งหากคุณได้มีโอกาสเดินเข้าไปในร้านของฝากทั้งในนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง คุณคงต้องเคยเห็นกล้วนกวนจากชาวบ้านตำบลบางประมุงอย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่ทำให้กล้วยกวนของตำบลนี้มีชื่อเสียงนอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว ก็คือบรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์อันสะท้อนวิถีชีวิตของชาวสวน
หลายคนที่เคยซื้อกล้วยกวนของตำบลบางประมุงมักจะจดจำแบรนด์ได้จากบรรจุภัณฑ์ที่เป็น ‘ชะลอม’ ซึ่งสานมาจากไผ่สีสุก เอกลักษณ์นี้ของกล้วยกวนบางประมุงได้รับการผลิตสืบทอดกันมายาวนาน อย่างไรก็ดีในปัจุบบันความต้องการซื้อกล้วยกวนมีจำนวนมากขึ้น ทำให้การผลิตชะลอมมีไม่ทันความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่ต้องการใช้ชะลอมเป็นจำนวนมาก
วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการเพิ่มจำนวนผู้ผลิตชะลอมให้มีมากขึ้น เพราะถึงแม้ชะลอมจะสามารถขายได้ในราคาดี แต่ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่มีขั้นตอนยุ่งยาก ทำให้การสานชะลอมยังเป็นเพียงงานเสริมของคนในชุมชน จากปัญหานี้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ จึงได้จัดทำโครงการ ‘ต่อยอดชะลอมเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนคลองบางประมุง จังหวัดนครสวรรค์’ ขึ้นมา เพื่อดึงเอากลุ่มผู้ด้อยโอกาสในชุมชนมาฝึกฝนสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ผ่านการผลิตชะลอมตอบความต้องการของตลาด
กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และผู้ด้อยโอกาสที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 80 คน ในชุมชน 4 หมู่บ้านใกล้เคียง โดยทีมพัฒนาทักษะจะช่วยฝึกฝนตั้งแต่การนำทรัพยากรต้นทุนของชุมชนอย่างไผ่สีสุก มาผลิตและแปรรูปเป็นชะลอม หลังจากนั้นจะทำการประสานงานไปสู่ผู้ประกอบการที่สนใจนำผลิตภัณฑ์นี้ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่นเดียวกับที่กลุ่มของกล้วยกวนของตำบลบางประมุงนำไปใช้
การดำเนินโครงการพัฒนานี้เป็นการเกื้อกูลกันระหว่างคนในชุมชนด้วยกันเอง ซึ่งสร้างรายได้ให้กับคนทุกระดับ ทำให้มีเม็ดเงินไหลเหวียนจากผู้ประกอบการสู่แรงงานฝีมือ นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยาการที่มีอยู่แล้วในชุมชน ซึ่งนับเป็นการนำต้นทุนของชุมชนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น
การต่อยอดชะลอมเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนคลองบางประมุง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อหน่วยงาน
จังหวัด
ปีโครงการ
ติดต่อ
เป้าประสงค์โครงการ
- คนในชุมชนมีทักษะและแนวคิดสร้างสรรค์ในการจักสานชะลอม ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด
- คนในชุมชนมีรายได้เสริมจากการจักสานชะลอมอย่างเป็นประจำต่อเนื่อง
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากชะลอม