วชช.แม่ฮ่องสอนยกระดับวิถีดั้งเดิมชาวปกาเกอะญอ ด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์จาก ‘บุก’
พื้นที่ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นถิ่นดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ มีวิถีชีวิตโดดเด่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกร เน้นการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ไปพร้อมกับการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ กล่าวคือ แม้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำไร่หมุนเวียนสืบทอดตามแบบบรรพบุรุษ โดยส่วนใหญ่เพาะปลูกพืชจำพวกข้าว ถั่วเหลือง พริก เป็นต้น แต่ก็ได้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจชุมชนอื่นควบคู่ไปด้วย รวมไปถึงการดูแลทรัพยากรป่าให้มีทดแทนการใช้อย่างยั่งยืน
พืชเศรษฐกิจที่ชาวปวาเกอญอหันมาปลูกนั้น คือ บุก ซึ่งในพื้นที่ตำบลแม่สวดสามารถมีการเพาะปลูกบุก 3 ประเภท ได้แก่ บุกคางคก บุกยาง และบุกเนื้อทราย โดยประเภทที่ได้รับความนิยมในการเพาะปลูกมากที่สุด ได้แก่ บุกเนื้อทราย เนื่องจากสามารถเติบโตได้เองในป่า ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการปลูกและดูแล เหมาะกับการปลูกพื้นที่ที่ยังคงมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อย่างตำบลแม่สวด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่เงา
แม้ส่วนใหญ่เกษตรกรในชุมชนจะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่าย แต่ก็ยังคงพบปัญหาในหลาย ๆ ด้าน เช่น การทำไร่หมุนเวียนมีรอบที่ลดน้อยถอยลงตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและจำนวนประชากร การใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นในการเพาะปลูกพืช (ข้าว ถั่วเหลือง พริก เป็นต้น) เนื่องจากความต้องการผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนสินค้าได้ และไม่นิยมแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทำให้เกิดความเสียหายจากการขนส่งที่ยากลำบากและใช้ระยะเวลานาน เป็นต้น
วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากบุก ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในตำบลแม่สวด เพื่อส่งเสริมให้ชาวปวาเกอญอที่เข้าร่วมโครงการกว่า 50 คน สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์จากบุกทั้งได้ทั้งห่วงโซ่ โดยจะนำบุกมาแปรรูปใน 2 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผงบุกแบบแห้ง และผลิตภัณฑ์ผงบุกแบบเปียก ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียต้นทุนที่เกิดจากการขนส่งอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ผลักดันให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากบุก กลายเป็นสินค้าชุมชนที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และสามารถนำไปจัดแสดงในงานแสดงสินค้าเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์จากผงบุกสำเร็จรูปได้อีกด้วย
เพื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน จึงได้จัดอบรมทักษะที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรสามารถขยายฐานตลาดในรูปแบบออนไลน์ได้ สามารถนำข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ของตน และสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์บุกสำเร็จรูปในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัดได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรท้องถิ่นสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และสร้างสวัสดิการชุมชนได้อย่างยั่งยืน
การจัดทำโครงการนี้จะเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับกลุ่มผู้เพาะปลูกบุกและผลิตภัณฑ์แปรรูปบุกในอำเภอปาย และกลายเป็นนำร่องให้กับพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนในการแปรรูปวัสดุท้องถิ่นมาแปรรูปให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการให้ชุมชนได้ นอกจากนี้ ยังได้มีแนวคิดในการพัฒนาเป็นหลักสูตรในการศึกษาระดับประกาศนียบัตร และอนุปริญญาบัตร เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้ชาวปวาเกอญอและชนพื้นเมืองอื่น ๆ ได้มีโอกาสทางการศึกษาที่มากขึ้น และร่วมกันสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงานในพื้นที่ได้อีกด้วย
โครงการส่งเสริมการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากบุก เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในตำบลแม่สวด เพื่อส่งเสริมให้ชาวปวาเกอญอที่เข้าร่วมโครงการกว่า 50 คน สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์จากบุกทั้งได้ทั้งห่วงโซ่ โดยจะนำบุกมาแปรรูปใน 2 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผงบุกแบบแห้ง และผลิตภัณฑ์ผงบุกแบบเปียก ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น
ส่งเสริมการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากบุก
ชื่อหน่วยงาน
จังหวัด
ปีโครงการ
ติดต่อ
เป้าประสงค์โครงการ
- สามารถผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ผงบุกสำเร็จรูปแบบแห้งและเปียก
- จัดตั้งเครือข่ายการตลาดสินค้าผงบุกสำเร็จรูป
- สามารถจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บนพื้นที่ตลาดออนไลน์