รายละเอียดโครงการ ปี 2562
ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2562
โครงการนี้มีเป้าหมายพัฒนาทักษะแรงงานขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่และแรงงานฝีมือโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนำร่องใน 50 พื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนความยากจนการว่างงานสูง และมีดัชนีความก้าวหน้าของคนต่ำ โดยจะมีการวิเคราะห์ศักยภาพและจัดทำแผนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดรูปแบบการพัฒนาทักษะอาชีพแบบครบวงจร โดยใช้ชุมชนเป็นฐานนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนากำลังแรงงานให้สามารถยกระดับฝีมือและทักษะ มีแผนประกอบอาชีพ จนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนคาดว่าในปีแรกจะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายประมาณ 5,000-10,000 คน
วัตถุประสงค์โครงการ
ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือ
กลุ่มประชากรวัยแรงงานซึ่งเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาหรือพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้
ศึกษาและพัฒนา
เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาอาชีพกลุ่มประชากรวัยแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม
ค้นหานวัตกรรมชุมชน
เพื่อค้นหานวัตกรรมชุมชนที่เสริมสร้างขีดความสามารถของกลุ่มเป้าหมายและชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้จนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายของโครงการ
กสศ. เปิดรับข้อเสนอโครงการ (Proposal) จาก หน่วยงาน สถาบันการศึกษา ทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม โดย กสศ. จะคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพสูงสุดเข้าร่วมโครงการ และทำสัญญาสนับสนุนกับหน่วยพัฒนาอาชีพ โดยหน่วยพัฒนาอาชีพจะต้องดำเนินงานตามโครงการเพื่อให้ผู้รับทุนได้รับการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยมีกรอบแนวคิดการดำเนินงาน ดังนี้
1) การใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based) ยกระดับการประกอบอาชีพ
เนื่องจากชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้หรือแหล่งการประกอบอาชีพที่สำคัญสุด
- ชุมชนชนบท เน้นพัฒนาให้เกิดกระบวนการเสริมศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาอาชีพ เพื่อกำหนดแผนธุรกิจและแผนกำลังคนที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
- ชุมชนเขตเมือง โครงการจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการที่มีความต้องการแรงงานฝีมือสูงขึ้น
2) การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ/แรงงานฝีมือในชุมชน
มุ่งเป้าตรงตามความต้องการของชุมชน หรือตลาดแรงงานท้องถิ่นร่วมไปกับการสร้างพื้นฐานทักษะอาชีพ 3 ด้าน
- ทักษะเฉพาะอาชีพโดยปฏิบัติงานจริงในชุมชนหรือสถานประกอบการ
- ทักษะการบริหารจัดการสำหรับศตวรรษที่ 21 (เช่น การฝึกวิเคราะห์ การใช้ IT และเทคโนโลยี การติดต่อประสานงาน การทำงานเป็นหมู่คณะ)
- ทักษะชีวิตด้านเศรษฐศาสตร์ครัวเรือน (เช่น บัญชีครัวเรือน การจัดการรายรับรายจ่าย) เพื่อนำไปสู่การมีนวัตกรรมชุมชนเพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ด
3) การเสริมสร้างสมรรถนะแก่ชุมชนและภาคเอกชน
ในการส่งเสริมบทบาทและเชื่อมโยงให้เกิดการบูรณาการร่วมกันในแต่ละหน่วยงาน เพื่อเป็นเครือข่ายจับคู่การพัฒนาอาชีพในการยกระดับศักยภาพ
4) การวิจัยปฏิบัติการ
เพื่อถอดความรู้และประเมินผลสำเร็จการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงมีการสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติหน่วยพัฒนาอาชีพ
ที่จะเข้าร่วมโครงการ
1) สถานภาพ
เป็นหน่วยงาน สถาบันการศึกษา ทั้งรัฐ เอกชนและภาคประชาสังคมที่มีแนวคิดการพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐานและมีบทบาทในการพัฒนากลุ่มประชากรวัยแรงงาน อาทิ หน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนพัฒนาอาชีพ องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย
2) การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ
เป็นหน่วยพัฒนาอาชีพซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาทักษะอาชีพ ฝีมือแรงงาน มีหลักสูตรการพัฒนาที่เน้นการปฏิบัติจริง มีประสบการณ์การทำงานกับชุมชน ท้องถิ่นหรือพื้นที่การเรียนรู้เป็นฐาน รวมถึงมีความพร้อมด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และความเชี่ยวชาญ รวมถึงบุคลากร
3) ความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและนอกชุมชน
เป็นหน่วยพัฒนาอาชีพที่มีการทำงานที่สามารถบูรณาการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน ให้สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อก่อให้เกิดการบูรณาการของการทำงานในพื้นที่ร่วมกัน
เกณฑ์การเสนอโครงการ
กสศ. จะพิจารณาข้อเสนอโครงการที่แสดงแนวคิดและวิธีการดำเนินงานที่ชัดเจนตามหัวข้อโดยมีข้อมูลและหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อสนับสนุนประเด็น ดังต่อไปนี้
ความพร้อมและความเชื่อมั่น
แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาทักษะอาชีพ ฝีมือแรงงาน
การวิเคราะห์พื้นที่ดำเนินงาน
คัดเลือกพื้นที่ดำเนินงานระดับตำบล เทศบาล หรือพื้นที่การเรียนรู้
แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ
การพัฒนาทักษะอาชีพ การเพิ่มทักษะบริหารจัดการ การส่งเสริมทัศนคติการดำเนินชีวิต
ความร่วมมือกับองค์กรในชุมชน
ข้อเสนอโครงการควรมีการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกับหน่วยงานในชุมชนท้องถิ่นทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรชุมชน และสถานประกอบการในท้องถิ่น
รูปแบบและวิธีการเรียนรู้ที่นำไปสู่การส่งเสริมการมีงานทำของกลุ่มเป้าหมาย
มีรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพและการมีงานทำ การเพิ่มรายได้
การสนับสนุน
กสศ. จะจัดงบประมาณสนับสนุนหน่วยพัฒนาอาชีพ ดังนี้
1) งบประมาณสนับสนุนการเรียนรู้เพื่ออาชีพ
ให้แก่กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส
2) งบประมาณสนับสนุนการบริหารจัดการ
เพื่อใช้ในการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้เพื่ออาชีพ
*รายละเอียดการสนับสนุนงบประมาณตามแบบข้อเสนอโครงการ (Proposal) โดยหน่วยพัฒนาอาชีพจัดทำแผนงบประมาณเสนอมายัง กสศ.
กสศ. จะจัดให้มีกิจกรรมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการเสริมคุณภาพ ดังนี้
- การพัฒนาหน่วยพัฒนาอาชีพให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ชุมชนหรือพื้นที่การเรียนรู้
- เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานและสนับสนุนวิชาการ
- การพัฒนาระบบฐานข้อมูลอาชีพท้องถิ่น การแนะแนวและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
แผ่นพับเอกสารแนะนำโครงการ
โครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส