รายละเอียดโครงการ ปี 2563
ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2563
โครงการนี้มีเป้าหมายพัฒนาทักษะแรงงานขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่และแรงงานฝีมือโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนำร่องใน 50 พื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนความยากจนการว่างงานสูง และมีดัชนีความก้าวหน้าของคนต่ำ โดยจะมีการวิเคราะห์ศักยภาพและจัดทำแผนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดรูปแบบการพัฒนาทักษะอาชีพแบบครบวงจร โดยใช้ชุมชนเป็นฐานนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนากำลังแรงงานให้สามารถยกระดับฝีมือและทักษะ มีแผนประกอบอาชีพ จนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนคาดว่าในปีแรกจะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายประมาณ 5,000-10,000 คน
วัตถุประสงค์โครงการ
ยกระดับทักษะ
เพื่อให้กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการยกระดับทักษะ มีอาชีพที่เป็นไปตาม ศักยภาพและความต้องการ
ศึกษาและพัฒนา
เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาอาชีพกลุ่มประชากรวัยแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการเปลีย่นแปลงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม
ค้นหานวัตกรรมชุมชน
เพื่อค้นหานวัตกรรมชุมชนที่เสริมสร้างขีดความสามารถของกลุ่มเป้าหมายและชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้จนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
หลักการและกรอบแนวคิดโครงการ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดรับข้อเสนอโครงการ (Proposal) จากหน่วยงานสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน องค์กรชุมชน มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์ และกิจการเพื่อสังคม (หน่วยเสนอโครงการ) ที่มีแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมชุมชน หรือการพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องโดย กสศ. จะคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพสูงสุดเข้าร่วมโครงการ และทําสัญญาสนับสนุนกับหน่วยเสนอโครงการ โดยตั้งอยู่บนหลักการสําคัญ 4 แนวคิด ได้แก่
1) ใช้ชุมชนเป็นฐาน
การใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based) ยกระดับการประกอบ อาชีพ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยจัดให้มี กระบวนการ เสริมศักยภาพ และใช้ทุนของชุมชน ในการพัฒนาอาชีพ มีการกําหนด แผนธุรกิจ และแผนกําลังคนที่เหมาะสม โดย ขั้นแรกให้ชุมชน สามารถพึ่งพา ภายในชุมชน (Self-Sufficient) ก่อนนําไปสู่การ แลกเปลี่ยน ระหว่างชุมชน (Barter Trade) การส่งขาย นอกชุมชน (Domestic Trade) และอาจนําไปสู่การส่งออก (Export) ได้
2) พัฒนาทักษะการประกอบอาชีพด้วยตนเอง
การพัฒนาทักษะการประกอบการด้วยตนเองบนพื้นฐานทรัพยากรชุมชน / แรงงานฝีมือใน ชุมชน โดยให้ความ สําคัญกับการเพิ่ม ทักษะใหม่ที่จําเป็น (Reskill) การเสริมทักษะ ใน บริบทใหม่ (Upskill) การพัฒนาข้อมูลทักษะ อาชีพรายบุคคล (Career Profile) ผ่านทักษะสําคัญ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
- ทักษะสุขภาพเกี่ยวกับ COVID-19 (COVID-19 Literacy) และการฟื้นฟูทางจิตใจ – ส่งเสริมชุมชนเข้าสู่วิถีสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีการสร้างความเข้าใจระดับชุมชนที่ถูกต้อง การป้องกันและลดการตีตราทางสังคมตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
- ทักษะชีวิตด้านเศรษฐศาสตร์ – บัญชีครัวเรือนการออม รายรับ รายจ่าย การบริหารหนี้สิน
- ทักษะเฉพาะอาชีพ – การประกอบการด้วยตนเอง ปฏิบัติ งานจริง ในชุมชนหรือสถานประกอบการ
- ทักษะการบริหารจัดการสำหรับศตวรรษที่ 21 – คิดแบบเติบโต ความสามารถในการ ปรับตัว และการหางาน การใช้ IT
3) เสริมสร้างสมรรถนะเพื่อความยั่งยืน
โดยจะส่งเสริมบทบาทในการเป็นเจ้าภาพหลัก
4) ติดตามประเมิน ถอดความรู้
เพื่อประเมินผลสําเร็จการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงมีการสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เกณฑ์การนำเสนอโครงการ
คุณภาพของ ข้อเสนอโครงการ
ความสอดคล้องกับจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลจากโครงการ
กรอบแนวคิดโครงการมีความสมเหตุสมผล
มีการออกแบบโครงการและมีแผนการดําเนินงานที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
โครงการไม่ซ้ำซ้อนกับข้อเสนอโครงการจากแหล่งอื่น
และมีลักษณะริเริ่มทํางานใหม่และเป็นนวัตกรรม
เป็นโครงการต่อยอดจากผลการดําเนินงานโครงการฯ ปี 2562
หน่วยเสนอโครงการต้อง
แสดงเหตุผลหรือข้อมูล
ที่ชัดเจนในการนํามาต่อยอด
กลุ่มเป้าหมาย
ประชากรวัยแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- อายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- รายได้ต่ำกว่า 6,500 บาท ต่อเดือน