ชาวสะเมิงหยิบต้นทุนชุมชนอย่างสตอรว์เบอร์รีและหญ้าหวานมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยืนอยู่บนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนิเวศวัฒนธรรม

เชียงใหม่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์

สตรอว์เบอร์รี ผลไม้เมืองหนาวยอดฮิต ด้วยรสชาติหวาน หอมอร่อย ส่งผลให้พื้นที่ที่มีสภาพอากาศเย็นในประเทศไทยนิยมปลูกกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสตรอว์เบอร์รีจากอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กลายเป็นของขึ้นชื่อที่ไม่ว่าใครจะไปก็ล้วนแต่ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับไปเป็นของฝาก นอกจากนี้แล้ว หญ้าหวาน พืชเพื่อสุขภาพที่สามารถทดแทนความหวานจากน้ำตาลสังเคราะห์ยังเป็นอีกผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของที่นี่ ส่งผลให้เกษตรกรส่วนมากในชุมชนแห่งนี้เกือบร้อยละ 90 นิยมปลูกหญ้าหวานเป็นพืชทางเลือกเพื่อสร้างรายได้แก่ครัวเรือน

อำเภอสะเมิงจึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งในเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรม และเกษตรกรรม โดยเฉพาะไร่สตอรว์เบอร์รีที่ขยายใหญ่จนเกิดเป็นเครือข่ายการผลิตสตรอว์เบอร์รีร่วมกันระหว่างเกษตรกรด้วยกัน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน จากที่กล่าวมาทั้งหมด แม้ทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจชุมชนจะดูเป็นไปได้งดงาม ถึงอย่างนั้น ผู้คนในทั้งสองอำเภอกลับติดชะงักเรื่องการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลาง ด้วยเหตุดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรมีความต้องการที่จะเพิ่มทักษะในการแปรรูปผลิตภัณฑ์รวมไปถึงการเพิ่มช่องทางจำหน่ายออนไลน์ 

กลายที่มาของโครงการ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแปรรูปสตรอว์เบอร์รีบนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนิเวศวัฒนธรรม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรทั้งหมด 60 คน ดำเนินการในพื้นที่ชุมชนบ้านแม่ยางห้าและอมลง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งเน้นให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงเครือข่ายทรัพยากรผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของทั้งสองหมู่บ้าน พร้อมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการเทรนด์ผู้บริโภคในเรื่องการดูแลสุขภาพ โดยได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานในพื้นที่และนอกพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น เทศบาลตำบลบ่อแก้วและแม่สาบ สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอสะเมิง สำนักงานเกษตรอำเภอสะเมิง ตลาดสีเขียวพื้นที่อำเภอสะเมิง และบริษัทเบสท์ฟู๊ด จำกัด

คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สถาบันศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญสูงและหน่วยพัฒนาอาชีพของโครงการดังกล่าวฯ จึงได้จัดเวทีเพื่อระดมสมองร่วมกับคนในชุมชน จนพบว่าพวกเขาส่วนมากแล้วต้องการที่จะแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชผลทางเกษตรของตัวเอองออกมาเป็นดังต่อไปนี้  แยมสตรอว์เบอร์รีหญ้าหวาน สตรอว์เบอร์รีอบแห้งหญ้าหวาน ชาสตรอว์เบอร์รีหญ้าหวาน และชาหญ้าหวาน 

จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้างต้นที่มีความสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสะท้อนถึง
อัตลักษณ์บนฐานของทุนทางนิเวศวัฒนธรรมได้จุดประกายแรงบันดาลใจให้ชุมชนร่วมกันพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนและคุณค่าของระบบนิเวศวัฒนธรรมร่วมกัน ทั้งยังนำมาสู่การขยายช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออนไลน์อีกด้วย

สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ในโครงการนี้คือ กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ของผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีและผู้ผลิตหญ้าหวานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์บนฐานทุนทางเกษตรและนิเวศวัฒนธรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้มีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์บนฐานคุณค่าทางนิเวศวัฒนธรรม ที่สำคัญคือมีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และมีการเชื่องโยงการเป็นผู้ประกอบการสู่ภาคธุรกิจของตัวเองอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ของผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีและผู้ผลิตหญ้าหวานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์บนฐานทุนทางเกษตรและนิเวศวัฒนธรรม

เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแปรรูปสตรอว์เบอร์รี่บนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนิเวศวัฒนธรรม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อหน่วยงาน

คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

จังหวัด

เชียงใหม่

ปีโครงการ

2563

ติดต่อ

ผู้ประสานงาน: นางสาวกังสดาล กนกหงษ์
โทร: 088-2612446

เป้าประสงค์โครงการ

  1. เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปเชิงสร้างสรรค์บนฐานของทุนทางการเกษตรจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์
  2. เกิดตราสินค้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์บนฐานคุณค่าทางนิเวศวัฒนธรรมจำนวน 2 ตรา
  3. เกิดบรรจุภัณฑ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์บนฐานคุณค่าทางนิเวศวัฒนธรรมจำนวน 4 รูปแบบ
  4. เพื่อพัฒนาช่องทางการการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และการเชื่อมโยงการเป็นผู้ประกอบการสู่ภาคธุรกิจจำนวนอย่าน้อย 4 ช่องทาง

เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส