วิสาหกิจบ้านชั่งแปลง 8 เร่งฝึกฝีมือแรงงานด้อยโอกาส เพื่อผลิตผ้าทอจกให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

เชียงใหม่ งานหัตถกรรมและฝีมือ

จก’ เป็นวิธีการทำลวดลายบนผืนผ้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวไทย เป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยนิยมใช้สีด้ายที่ตัดกันเพื่อสร้างความสวยงาม สรรสร้างลวดลายผ่านการนำวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของท้องถิ่นนั้นๆ ในการออกแบบผ้าจกให้สวยงาม โดยส่วนใหญ่แล้วผ้าจกนิยมนำไปตัดเย็บเข้ากับผ้าชนิดอื่นๆ จากความสวยงามและเอกลักษณ์อันโดดเด่นดังกล่าว ส่งผลให้ผ้าทอจกในอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นที่ต้องการในท้องตลาดสูง อย่างไรก็ดี ชุมชนกลับมีผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าจกไม่เพียงพอเนื่องจากการทอจกเป็นการทอที่ต้องใช้ฝีมือและระยะเวลาการผลิต ส่งผลให้ผลผลิตกับยอดการสั่งซื้อสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด

จากปัญหาการพัฒนาคนในพื้นที่ขาดทักษะความรู้ที่เหมาะสมกับงานทอผ้าลายจกซึ่งมีรายละเอียดของลวดลายผ้าโบราณ ประกอบทั้งยังจำเป็นต้อใช้เวลาสลับซับซ้อนในการทอ ส่งผลให้ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าจกบ้านชั่งแปลง 8 จังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานที่มีที่มีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับผ้าทอ ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกและการเตรียมวัตถุดิบ การเตรียมฝ้าย การออกแบบลวดลาย การทอ และการแปรรูปผ้าทอเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้การนำของ นางแสงเดือน เปี้ยตั๋น ที่ต้องการอนุรักษ์ผ้าจกและสืบทอดผ้าจกจากรุ่นสู่รุ่นจึงได้จัดตั้งโครงการ ‘พัฒนาทักษะการทอผ้าจกเพื่อสร้างอาชีพ ในเขตอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่’ ขึ้นมา โดยคาดหวังว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาขาดแคลนทุนทรัพทย์ด้านทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนได้สำเร็จ

โดยมุ่งเน้นพัฒนากลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มสตรีแม่บ้านชุมชนเป็นอันดันแรก เนื่องจากภายในพื้นที่อำเภอดอยเต่านั้นมีความเชื่อถึงอาชีพทอผ้าว่าเป็นอาชีพของสตรี ประกอบกับต้องการกลุ่มเป้าหมายที่มีพื้นฐานการทอผ้าในระดับพื้นฐาน อยู่แล้ว เนื่องจากการทอผ้าจกนั้นมีขั้นตอนและกระบวนการที่ซับซ้อนจำต้องมีทักษะขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมจึงมีทั้งหมด 50 คน 

โดยการพัฒนาทักษะอาชีพของโครงการนั้น ทางกลุ่มเป้าหมายและหน่วยพัฒนาอาชีพได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อหารือในการวางแผนเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานต่างๆ เพื่อนำไปสู่การแปรรูปและส่งเสริมการขายผ้าทอจกในอนาคตให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและบริบทการขายที่ย้ายไปอยู่บนแพลทฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น ก่อนจะลองให้ผู้เข้าร่วมโครงการเริ่มกระบวนการทอทั้งหมดด้วยตนเองในลวดลายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในประเภทลายโบราณ เช่น ลายหงส์เครือ และลายกุดสูน หรือประเภทลายใหม่ เช่น ลายเอื้อมเดือน และลายแสงงาม เป็นต้น

การที่ให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองทอผ้าลายจกด้วยตัวเองยังถือว่าเป็นการวัดผลและประมวลผลไปในตัว นอกจากนี้หน่วยพัฒนาอาชีพยังพร้อมให้คำเสนอและและการปรับปรุงแก้ไขอย่างสม่ำเสมอ จนกลุ่มเป้าหมายสามารถออกแบบผลงานที่เป็นผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้คนละ 1 ผืน จากนั้นจึงจะเป็นการแปรูรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้าที่สามารถใช้งานได้จริงและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกลับผลิตภัณฑ์จากผู้เข้าร่วมพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อการวางจำหน่ายและสร้างรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการต่อไป

อย่างไรก็ดี โครงการดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากโครงการเดิม เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการทอผ้าจกในระดับที่สูงขึ้นให้กับชาวบ้านอำเภอดอยเต่า และเป็นการนำความรู้พื้นฐานการทอผ้าจกมาพัฒนาเพิ่มเติมให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานที่สูงขึ้น สามารถแปรรูปสินค้าจากผ้าทอจกให้มีความหลากหลาย การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสินค้า ฝึกการเป็นผู้ประกอบการ สร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการได้อย่างยั่งยืน

โครงการนี้เป็นการต่อยอดโครงการเดิม เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการทอผ้าจกในระดับที่สูงขึ้นให้กับชาวบ้านอำเภอดอยเต่า จนสามารถแปรรูปสินค้าจากผ้าทอจกให้มีความหลากหลายและน่าสนใจได้

เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น

พัฒนาทักษะการทอผ้าจกเพื่อสร้างอาชีพ ในเขตอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อหน่วยงาน

ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าจกบ้านชั่งแปลง 8 จังหวัดเชียงใหม่

จังหวัด

เชียงใหม่

ปีโครงการ

2563

ติดต่อ

ผู้ประสานงาน: นางแสงเดือน เปี้ยตั๋น
โทร: 085 6243976

เป้าประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาส มีทักษะทอผ้าจก เพื่อการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน
  2. เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
  3. เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้แก่ผ้าทออำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่

เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส