สมาคมรักษ์ป่าต้นน้ำจัดโครงการฝึกอาชีพ เพื่อสร้างโอกาสและส่งเสริมทางเลือกให้กับเกษตรกรและผู้ด้อยโอกาส

เลย อื่น ๆ

“ถ้าไม่ปลูกข้าวโพดแล้วจะให้ทำอะไรหาเงินให้กับครอบครัว ถ้าเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นแล้วล้มเหลวจะเงินที่ไหนที่ไหนไปใช้หนี้” เป็นคำถามที่สะท้อนถึงการขาดแคลนโอกาสทางการประกอบวิชาชีพของกลุ่มเป้าหมาย ที่สมาคมรักษ์ป่าต้นน้ำได้ค้นพบ ณ ช่วงเวลาที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในโครงการ ‘พัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้างทางเลือกและต่อยอดทางการเรียนรู้ของแรงงานนอกระบบ’

ตำบลอีปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีหนี้สินครัวเรือนประมาณ 80,000 – 100,000 บาท โดยส่วนใหญ่เกิดจากการลงทุนทำไร่ข้าวโพดทั้งค่าเมล็ดพันธุ์  ค่าปุ๋ย  ค่ายาปราบศัตรูพืช ค่าไถพรวน ค่าจ้างหยอดเมล็ดพันธุ์และค่าน้ำมัน 

ปัญหาการขาดทุนสะสมสะท้อนถึงปัญหา การขาดองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพอื่น ทั้งที่เกษตรกรรับรู้ว่ารายได้จากการเกษตรข้าวโพดนั้นมีความผันผวนไม่แน่นอนและมีต้นทุนการผลิตที่สูงมาก แต่ด้วยโอกาสที่มีอย่างจำกัด เกษตรกรในพื้นที่ไม่มีความรู้มากพอที่จะประกอบอาชีพอื่น ๆ จึงเกิดปัญหาการสะสมหนี้ในที่สุด แต่ยังมีเกษตรกรบางกลุ่มหันมาประกอบอาชีพเสริม ในช่วงปี พ.ศ. 2561 คนในตำบลอิปุ่มได้เริ่มหันมาขายล็อตเตอรี่เป็นรายได้เสริมในครัวเรือนโดยการออกไปขายนอกพื้นที่ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพขายล็อตเตอร์รี่ได้จึงเกิดปัญหาการขาดรายได้  

จากปัญหาข้างต้นทำให้ สมาคมรักษ์ป่าต้นน้ำ ดำเนิน “โครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้างทางเลือกและต่อยอดทางการเรียนรู้ของแรงงานนอกระบบ” โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติทางการเรียนรู้ด้านอาชีพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายนำไปต่อยอดสร้างรายได้ และเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพของกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่รายได้ที่ยั่งยืนของชุมชน

โดยทางผู้จัดทำได้ทำการสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและความเป็นไปได้ของวิชาชีพที่ต้องการโดยสรุปได้เป็นหลักสูตร ได้แก่ 

1.การอบรมช่างเสริมสวย มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 34 คน  อยู่ในช่วงอายุ 17 – 55 ปี ซึ่งอยู่ในกลุ่มวัยแรงงานสามารถพัฒนาทักษะทางด้านอาชีพให้สามารถสร้างรายได้และพัฒนาสู่ผู้ประกอบการร้านเสริมสวยได้ 

  1. การอบรมนวดแผนไทย มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน อายุ 38 – 57 ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่มวัยแรงงาน จำนวน 11 คน กลุ่มผู้สูงอายุ 3 คน อายุ 62 – 63 สามารถพัฒนาทักษะทางด้านอาชีพได้โดยการสร้างความร่วมมือกับสาธารณสุข รพ.สต.ในการอบรมและออกใบรับรองจากสาธารณสุขเมื่อจบหลักสูตรการอบรม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ 
  2. การอบรมเพาะเห็ดนางฟ้า มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 16 คน อายุ 20 – 55 ปี ซึ่งอยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน และมีพื้นฐานด้านการเกษตร สามารถพัฒนาทักษะทางด้านอาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้าให้สร้างรายได้และนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการในรูปแบบกลุ่มหรือในระดับบุคคลได้ 
  3. การอบรมช่างยนต์ มีกลุ่มเป้าหมาย 22 คน อายุ 19 – 57 ปี แบ่งเป็นกลุ่มวัยแรงงาน 20 คน ผู้สูงอายุ 2 คน อายุ 60 – 63 ปี แบ่งเป้าหมายออกเป็น 3 ระดับ คือ กลุ่มการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์การเกษตรภายในครัวเรือน กลุ่มการสมัครงานในสถานประกอบการ  และกลุ่มการเป็นผู้ประกอบการร้านซ่อมในชุมชน  

นอกจากนี้ทางโครงการฯ ยังมีแนวทางการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายโดยการสนับสนุนทางด้านแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมสำหรับการต่อยอดทักษะให้เกิดความเชี่ยวชาญ และการสนับสนุนสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์ด้านทักษะอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาฝีมือต่อ ตลอดจนการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชน 

จากการอบรมวิชาชีพทั้ง 4 วิชาชีพ จะทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ได้เรียนรู้วิชาชีพที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตัวเอง เป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ มีหนทางในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ยกระดับชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

จากการอบรมวิชาชีพทั้ง 4 วิชาชีพ จะทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ได้เรียนรู้วิชาชีพที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตัวเอง เป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ มีหนทางในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ยกระดับชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น

พัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้างทางเลือกและต่อยอดทางการเรียนรู้ของแรงงานนอกระบบ ต.อิปุ่ม อ.ด่านซ้าย จ.เลย

ชื่อหน่วยงาน

สมาคมรักษ์ป่าต้นน้ำ

จังหวัด

เลย

ปีโครงการ

2563

ติดต่อ

ผู้ประสานงาน: นายดำรงค์ศักดิ์ มะโนแก้ว
โทร: 08-7944-5010

เป้าประสงค์โครงการ

  1. กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการปรับตัวทางการเรียนรู้ด้านอาชีพให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ จำนวน 87 คน
  2. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะทางด้านอาชีพ 4 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ ช่างเสริมสวย นวดแผนไทย ช่างยนต์ เพาะเห็ดนางฟ้า สามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ สดรายจ่าย และสามารถพัฒนาสู่ผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชน 
  3. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะด้านการวางแผนจัดการด้านการเงินด้วยการทำบัญชีครัวเรือน ในการวางแผนการดำเนินชีวิต และมีการรวมกลุ่มด้านอาชีพภายในชุมชน

เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส