สํานักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดสตูล ทำโครงการพัฒนากลุ่มเกษตรอินทรีย์ให้กับเครือข่าย ‘เขา นา และทะเล’ เพื่อวิถีสีเขียวที่มั่นคง
ในยุคนี้หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘อินทรีย์’ บ่อยครั้งขึ้น หากคุณไปเดินตามท้องตลาดในเมืองใหญ่ๆ แผงขายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร พืชผัก หรือผลไม้ ที่ติดป้ายอินทรีย์ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ความอินทรีย์หรือออร์แกนิกส์นั้นกำลังเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพและเลือกกินอย่างปราณีตขึ้น
เมื่อตลาดมีความข้องการในสินค้าประภทนี้ เหล่าผู้ผลิตอย่างเกษตรกรก็เริ่มหันหน้ามาสนใจวิถีแบบอินทรีย์กันมากขึ้น แต่ด้วยความที่เกษตรอินทรีย์นั้นเป็นวิถีที่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่างสภาพดินฟ้าอากาศมาก ทำให้หลายครั้งก็กลายเป็นข้อจำกัดที่ส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับเกษตรที่ใช่สารเคมีได้
จังหวัดสตูลเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ต้นทุนของชุมชนในจังหวัดสตูลนั้นนับว่ามีข้อได้เปรียบในด้านสภาพภูมิประเทศที่มีทั้งป่าต้นน้ำ ที่ราบลุ่ม และชายฝั่ง แต่ขณะเดียวกันความสลับซับซ้อนของภูมินิเวศก็ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรวมกลุ่มอาชีพ
สํานักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดสตูล ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพ ได้เห็นทั้งโอกาสในการผลักดันให้สตูลเกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่แข็งแรง รวมถึงปัญหาที่ทำให้การรวมกลุ่มทำได้ยาก พวกเขาจึงได้จัดทำโครงการ ‘พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรอินทรีย์สู้ผู้ประกอบการสีเขียว’ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์
สํานักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดสตูล จึงได้ร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมจังหวัดสตูล และ หุ่นไล่กา กรุ๊ป ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาความรู้ให้แก่เกษตรกร และสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมจากการใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน
โดยวางกลุ่มเป้าหมายของโครงการเป็นกลุ่มสมาชิกที่อยู่ในเครือข่าย ‘เขา นา และทะเล’ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานเกษตรอินทรีย์มาแด่เดิม โดยวางเกณฑ์ในการคัดเลือกไว้ว่าผู้สมัครเข้าโครงการจะต้องเป็นกลุ่มคนด้อยโอกาสในชุมชน เช่น แรงงานนอกระบบ ผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 150 คน
แผนพัฒนาทักษะอาชีพของโครงการจะมีตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเริ่มจากการผลิตสินค้าทางการเกษตรภายใต้หลักการและมาตรฐาน ‘เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม’ (PGS Organic) และมีกระบวนการในการรวบรวมผลผลิตที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมีในระหว่างการขนส่ง มีการพัฒนาเรื่องการแปรรูปผลผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน จนสุดท้ายจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาตลาดสีเขียว และตลาดในหลากหลายรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงผู้ผลิต และผู้บริโภค
สรุปได้ว่าโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรอินทรีย์สู้ผู้ประกอบการสีเขียวนี้ จะช่วยยกระดับองค์ความรู้ของเกษตรกรในกลุ่มให้มีมาตรฐานเดียวกัน รวมไปถึงช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรอินทรีย์สามารถรวมกลุ่มกันได้อย่างแข็งแรงมากขึ้น
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านอำนาจต่อรองและความสามารถในการแข่งขันในตลาดสินค้าเกษตร ส่งผลต่อมาคือรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรที่ใช้วิถีธรรมชาติ
เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น
พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรอินทรีย์สู้ผู้ประกอบการสีเขียว
ชื่อหน่วยงาน
จังหวัด
ปีโครงการ
ติดต่อ
เป้าประสงค์โครงการ
สร้างโอกาสที่เสมอภาคของแรงงาน ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ได้รับการพัฒนายกระดับฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพ
- เกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นความสําคัญในการทําเกษตรอินทรีย์
- การขยายฐานการ ผลิตเกษตรอินทรีย์ เพิ่มพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและยา ในจังหวัดสตูล
- มีสื่อ และหลักสูตร เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) ฉบับเกษตรกรเข้าใจและเข้าถึง
- เกิดศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ในรูป แบบที่เป็นอัตตลักษณ์ของพื้นที่ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้
- มีกระบวนการในรวบรวมผลผลิต การบรรจุภัณฑ์ที่ได้ มาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- มีการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สามารถเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค
- มีผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อย่างน้อยภูมินิเวศละ 1 ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตตลักษณ์และได้รับมาตรฐาน
- เครือข่ายเกษตรกร มีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการสีเขียว
- สามารถสร้างงานสร้างอาชีพ และรายได้ให้กับเกษตรกร ตลอดสายพานการผลิต ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ