วิสาหกิจชุมชนแม่นาจร ‘ยืนหยัดในวิถีอินทรีย์’ ผ่านโครงการที่จะช่วยพัฒนาฝีมือเกษตรกรให้สามารถผลิต แปรรูป และขายได้อย่างครบวงจร

เชียงใหม่ งานหัตถกรรมและฝีมือ

วิถีเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์ อาจฟังดูเป็นแนวคิดการเกษตรสมัยใหม่ที่ตอบสนองกระแสความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนรุ่นใหม่ แต่นี่คือเกษตรกรรมดั้งเดิมของคนรุ่นปู่ย่าตายาย เพียงแต่เมื่อชุมชนและสังคมใหญ่ขึ้น เศรษฐกิจก็ขยายตาม การเพาะปลูกจากเพียงเพื่อเลี้ยงชีพก็เปลี่ยนเป็นเพื่อการค้า มีการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่งส่งผลกระทบในแง่ของต้นทุนที่สูงขึ้นและสุขภาพที่แย่ลง

ไม่เพียงแต่วิถีเกษตรกรรมเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตคนในชุมชนก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน หลายสิบปีมาแล้วที่ผู้คนเดินออกจากชุมชน ออกจากหมู่บ้าน ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่าในเมืองใหญ่ แต่เมื่อพบความจริงว่ารากฐานของชีวิตในชุมชน ครอบครัว พ่อแม่ และญาติพี่น้อง คือความสุขอย่างแท้จริง พวกเขาก็เริ่มคิดถึงการคืนสู่รากเหง้าดั้งเดิม แต่การกลับคืนถิ่นฐานก็ไม่ใช่เรื่องง่าย คำถามใหญ่ที่อยู่ข้างหน้าคือจะประกอบอาชีพอย่างไร ฉะนั้น การทบทวนค้นหาทุนของชุมชน จึงเป็นด่านแรกของการพลิกฟื้นถิ่นฐานบ้านเกิด

ในเวลาเดียวกับการพัฒนาชุมชนให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก เราก็อยากวิถีชีวิตของเรายังคงที่เรียบง่ายและอบอุ่นเหมือนเดิม สิ่งสำคัญที่สุดในชุมชนคือ เรามีแหล่งน้ำ เราก็ทำเกษตรได้ และชุมชนของผมคำว่าจิตอาสาและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ยังมีอยู่ ความร่วมมือยังมีสูง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ” เป็นสิ่งที่ วัฒนา ทรงพรไพศาล ผู้ใหญ่บ้านหรือพ่อหลวงหนุ่ม วัย 30 ต้นๆ แห่งบ้านห้วยขมิ้น หมู่ที่ 17 ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงทุนชุมชน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ตำบลแม่นาจร  

วัฒนา เล่าว่า การขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน สิ่งสำคัญคือความเข้าใจถึง ‘ฐานชุมชน’ โดยจะต้องมีแผนก่อนว่า จะพัฒนาอะไร กลุ่มต่างๆ ในชุมชนมีความต้องการอะไร เพื่อให้สอดคล้องกับการหาภาคีอื่นๆ มาสนับสนุน เช่น ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมด้านการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้

เป้าหมายจริงๆ คือเราอยากแปรรูปผลผลิต เพราะแต่ละฤดูกาลจะมีผลผลิตเหลือเป็นจำนวนมาก เพราะเรายังรู้จักตลาดแค่วงแคบๆ อีกอย่างหนึ่งคืออยากให้คนรุ่นใหม่กลับมาอยู่บ้านแล้วมีกิจกรรม ไม่ต้องโดนพ่อแม่ว่า จบแล้วกลับมาทำอะไร ทำเกษตรให้มีรายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราก็สามารถอยู่ได้ ถ้าคนรุ่นใหม่กลับมาอยู่บ้านเยอะขึ้น ก็ช่วยเหลือชุมชนได้เยอะขึ้น” 

จากการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 150 คน ซึ่งมาจาก 3 หย่อมบ้าน ได้แก่ บ้านห้วยขมิ้นนอก บ้านห้วยขมิ้นใน และบ้านป่าเกี๊ยะน้อย ทำให้สามารถกำหนดทิศทางได้ว่า หลักสูตรเริ่มต้นที่ควรดำเนินการก็คือ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ผลเมืองหนาวอินทรีย์ “สรุปว่าที่พวกเขาอยากทำกันที่สุดคือลูกพลับ เพราะทุกคนมีเกือบหมด ตัวที่ 2 คือกาแฟ, ตัวที่ 3 คือสตรอว์เบอร์รี่ ตามมาด้วยเคพกูสเบอร์รี่กับพลัม และสุดท้ายคืออะโวคาโด ซึ่งยังไม่มีใครปลูกกัน”

โดย วัฒนา ยกตัวอย่างว่า “เรามีเครือข่ายผู้ประกอบการที่เคยส่งผลผลิตให้ เขา ซึ่งเขามีองค์ความรู้เรื่องการแปรรูป เช่น การทำพลัมอบแห้ง ไวน์สตรอว์เบอร์รี่ แล้วก็มีแยมเคพกูสเบอร์รี่ นั่นหมายความว่าเรามีแนวทาง มีความรู้แล้ว แต่ยังขาดอุปกรณ์ อีกทั้งเรื่องการตลาดเราก็ยังไม่ชัดเจน”

ทั้งนี้ สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายได้รับจากการรวมกลุ่มทำโครงการนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การดึงพลังของคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานให้กับชุมชน ซึ่งช่วยให้ช่องว่างระหว่างคนทั้งสองวัยลดลง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กัน อย่างคนรุ่นใหม่จะเก่งทางด้านการตลาดมากกว่า ซึ่งก็ช่วยเติมเต็มรอยโหว่ที่ไม่ชัดเจนดังกล่าวได้ จนเกิดเป็นแบรนด์ ‘ห้วยขมิ้นออแกนิกส์’ ขึ้นมา 

ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโครงการ ได้รับความสนใจจากคนในชุมชนที่ต้องจากบ้านไปทำมาหากินต่างถิ่น เพราะเมื่อพวกเขารู้ว่าที่บ้านเกิดก็มีโอกาสทางด้านอาชีพและรายได้รองรับชีวิตเหมือนกัน ก็ส่งผลให้หลายคนหวนกลับคืนถิ่นกำเนิด อย่าง จตุพร วิริยะชาญไพร วัย 32 ปี หนึ่งในกลุ่มเป้าหมาย ที่เพิ่งกลับบ้านเกิดเมื่อ 2 ปีก่อน หลังเรียนจบด้านช่างและทำงานอยู่ในเมืองมากว่า 3 ปี ซึ่งเขาย้ำว่า “การอยู่บ้านเรา เวลาทำอะไรมันก็เป็นของเรา ถ้าเราสามารถพัฒนาชุมชนหรือหมู่บ้านเราได้ มันก็เป็นอะไรที่อบอุ่น”

ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ วัฒนา มองว่า สิ่งสำคัญที่ได้รับจากโครงการก็คือ การช่วยให้คนในชุมชนวางแผนได้ดีขึ้น ทั้งแผนการเพาะปลูก การจัดจำหน่าย การเลือกใช้ช่องทางการตลาด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ “อย่างในปีนี้ พวกเขารู้แล้วว่าพลับจะออกเท่าไร มีรายได้คร่าวๆ เท่าไร จะขายให้ใคร จากที่เมื่อก่อนไม่มีใครรู้ด้วยซ้ำ ว่าพลับในแต่ละปีจะให้ผลผลิตเท่าไร 

“แต่ตอนนี้ แค่ตัดแต่งกิ่งและมองคร่าวๆ พวกเขาก็รู้แล้วว่าจะได้ผลผลิตประมาณกี่กิโลกรัม อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องตลาด ถ้าไม่รู้ว่าจะเอาไปขายที่ไหน พวกเขาก็แทบจะไม่ดูแลเลย แต่พอโครงการนี้เข้ามา มีการบริหารที่ชัดเจนขึ้น พวกเขาจะวางแผนเป็นปีเลย ถ้าไม่เจอภัยแล้ง ไม่เจออุทกภัย จะได้ผลผลิตเท่าไร หรือถ้าเจอแล้วจะต้องปรับตัวอย่างไร” 

นอกจากนี้ วัฒนา ยังเสริมอีกว่า ปัจจัยหลักที่เขาผลักดันให้เกิดวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์นี้ขึ้นมา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น เป็นเพราะว่าเขาอยากเห็นชุมชนกลับมามีวิถีชีวิตเหมือนเดิม เหมือนรุ่นก่อนๆ 

“สมัยผมเด็กๆ เรากินข้าวถาดเดียวกันทั้งครอบครัว ทั้งตอนเช้าและตอนเย็น แต่ที่ผ่านมา มันเหมือเรากินข้าวตอนเที่ยง เราไปโรงเรียน เหลือแต่พ่อแม่ เราอยากให้บรรยากาศตอนเช้าและตอนเย็นกลับมา เราจะเห็นภาพครอบครัวที่คุยกันแล้วมีความสุข ไม่จำเป็นต้องมีหมู ไม่จำเป็นต้องมีลูกชิ้น มีแค่น้ำพริกถ้วยเดียวหรือผักต้มหม้อเดียว เราก็มีความสุขได้แล้ว

ทว่า การจะสร้างให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขอย่างที่วัฒนาหวัง จะต้องมีหลักประกันทางรายได้เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อทำให้ทุกคนเชื่อมั่นถึงอนาคตในชุมชน ว่านี่คือสิ่งที่พวกเขาช่วยกันสร้าง ช่วยกันทำขึ้นมา เพื่อเป็นโอกาสให้ผู้ที่จากถิ่นฐานอยากกลับมาอยู่ร่วมกันในชุมชนบ้านเกิดของตัวเองอีกครั้ง

“และยิ่งถ้ามีคนกลับมาช่วยกันพัฒนาถิ่นฐานมากขึ้น เราก็จะมีพลังทำอะไรได้มากขึ้นเช่นกัน” วัฒนา เล่าถึงความหวังของเขา

“เป้าหมายจริงๆ คือเราอยากแปรรูปผลผลิต เพราะแต่ละฤดูกาลจะมีผลผลิตเหลือเป็นจำนวนมาก เพราะเรายังรู้จักตลาดแค่วงแคบๆ อีกอย่างหนึ่งคืออยากให้คนรุ่นใหม่กลับมาอยู่บ้านแล้วมีกิจกรรม ไม่ต้องโดนพ่อแม่ว่า จบแล้วกลับมาทำอะไร ทำเกษตรให้มีรายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราก็สามารถอยู่ได้ ถ้าคนรุ่นใหม่กลับมาอยู่บ้านเยอะขึ้น ก็ช่วยเหลือชุมชนได้เยอะขึ้น” วัฒนา ทรงพรไพศาล ผู้ใหญ่บ้านหรือพ่อหลวงหนุ่ม วัย 30 ต้นๆ แห่งบ้านห้วยขมิ้น หมู่ที่ 17 ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ในเวลาเดียวกับการพัฒนาชุมชนให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก เราก็อยากวิถีชีวิตของเรายังคงที่เรียบง่ายและอบอุ่นเหมือนเดิม สิ่งสำคัญที่สุดในชุมชนคือ เรามีแหล่งน้ำ เราก็ทำเกษตรได้ และชุมชนของผมคำว่าจิตอาสาและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ยังมีอยู่ ความร่วมมือยังมีสูง” วัฒนา ทรงพรไพศาล ผู้ใหญ่บ้านหรือพ่อหลวงหนุ่ม

เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น

การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตไม้ผลเมืองหนาวอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อหน่วยงาน

วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลแม่นาจร

จังหวัด

เชียงใหม่

ปีโครงการ

2562

ติดต่อ

ผู้ประสานงาน: นายวัฒนา ทรงพรไพศาล
โทร: 082-8966752

เป้าประสงค์โครงการ

  1. กลุ่มเกษตรมีศักยภาพในการจัดการผลผลิตเกษตรเกษตรอินทรีย์ โดยกระบวนการแปรรูปผลผลิตได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  2. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรในการจัดการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
  3. กลุ่มเกษตรกรมีความรู้ความความเข้าใจในการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์

เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส