ชุมชนบ้านช่างแปลง 8 ฟื้นเทคนิค ‘ผ้าทอจก’ ที่ทั้งช่วยสืบทอดวัฒนธรรมและยังหารายได้เข้าชุมชนได้ด้วย
เมื่อคนในชุมชนอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ต้องพบเจอกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลง ทำให้กลุ่มทอผ้าบ้านชั่งแปลง 8 ได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะการทอผ้าจกเพื่อสร้างอาชีพสำหรับกลุ่มสตรีแม่บ้านที่มีพื้นฐานการทอผ้า ในอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นเพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการทอผ้าจกให้กับชาวบ้านในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านเกษตกร เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหารายได้เสริม และช่วยสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น
โดยหลังจากที่โครงการได้ดำเนินโครงการมาในระยะเวลาหนึ่ง ทางกลุ่มก็ได้ทำการจดบันทึกความก้าวหน้าของโครงการมาโดยตลอด ทำให้ได้เห็นความกระบวนการและความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มในช่วงตั้งต้นของโครงการ
ในด้านขอกลุ่มเป้าหมาย สมาชิกโครงการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสตรีแม่บ้านในอำเภอดอยเต่า ซึ่งประกอบไปด้วยคนด้อยโอกาส เช่น ผู้ว่างงาน 31 คน ผู้สูงอายุ 13 คน ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 5 คน และลูกจ้างชั่วคราว 1 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน ยังมีปริมาณตามความตั้งใจของโครงการเช่นเดิม ทว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านรายชื่อ 5 คน เนื่องจากปัญหาสุขภาพ และความต้องการส่วนตัว
ในส่วนของกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพนั้น ตลอดเวลาหนึ่งเดือน โครงการได้จัดกิจกรรมมากมายเพื่อการพัฒนาอาชีพให้กับสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นการปฐมนิเทศเพื่อเตรียมตัวผู้เข้าเรียน การเรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับการขึ้นเครื่องทอผ้า โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมากลุ่มสมาชิกก็ได้มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีข้อบ่งชี้ดังนี้
- กลุ่มสตรีฯ มีทักษะทอผ้าจกมากขึ้น สามารถใช้อุปกรณ์และเตรียมขึ้นทอได้แล้ว รวมถึงมีทักษะการทอผ้าจกแบบพื้นฐาน
- กลุ่มสตรีฯ มีทัศนคติต่อการทอผ้าจกที่ดีขึ้นและตระหนักถึงความสำคัญด้านการอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นชนิดนี้ เห็นได้จากความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นไปตามจำนวนที่ตั้งไว้คือ 50 คน
นอกจากผลตอบรับที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในโครงการแล้ว ตัวหน่วยพัฒนาอาชีพศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าจกบ้านชั่งแปลง 8 ก็ได้กลายมาเป็นที่รู้จักของชุมชนมากขึ้น มีสมาชิกเข้ามาสมัครกับศูนย์มากขึ้น รวมถึงได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ในการทำงานของโครงการมากกว่าเดิม
ขณะเดียวกับที่ได้เห็นการพัฒนาของกลุ่มสตรีฯ โครงการก็ได้พบทั้งปัญหาและอุปสรรคด้วย ไม่ว่าจะเป็น การมาเรียนไม่พร้อมเพรียงกันเนื่องจากแม่บ้านแต่ละคนมีภาระที่แตกต่างกัน จำนวนกี่ทอผ้าไม่เพียงพอสำหรับสมาชิก จำนวนผู้อบรมมีมากจนทำให้สมาชิกบางคนขาดสมาธิในการฝึกฝน แต่ทางโครงการก็ได้ดำเนินแนวทางการแก้ไขเพื่อบรรเทาปัญหาลงได้เป็นอย่างดี เช่น การกำหนดวันเรียนทดแทน การผันแรงงานไปฝึกฝนกระบวนการอื่นของการทอที่ไม่ต้องใช้กี่ทอผ้า และส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลือกันเองในกลุ่ม
ทั้งความก้าวหน้าและอุปสรรคที่ต้องแก้ไขนั้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างทางของการพัฒนา ซึ่งท้ายที่สุดแล้วโครงการนี้ยังต้องดำเนินงานไปจนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นั่นคือการผลิตแรงงานฝีมือออกมาจนทำให้ภูมิปัญญาทอผ้าจกนี้สามารถสร้างประโยชน์ต่อชุมชนทั้งด้านรายได้ และการสืบสานอนุรักษ์ วิถีนี้ต่อไป
แชร์:
เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น
พัฒนาทักษะการทอผ้าจกเพื่อสร้างอาชีพสำหรับกลุ่มสตรีแม่บ้านที่มีพื้นฐานการทอผ้า ในอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อหน่วยงาน
จังหวัด
ปีโครงการ
ติดต่อ
เป้าประสงค์โครงการ
- เพื่อให้กลุ่มสตรีแม่บ้าน มีทักษะทอผ้าจก เพื่อการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน
- เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้แก่ผ้าทออำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่